งานมอบใบประกาศนียบัตร Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) รุ่นที่ 1 – รุ่นที่ 3 ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา
ในวันที่ 4 สิงหาคม 2566 แผนกประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด จัดงานมอบใบประกาศนียบัตร Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา ขึ้น ณ อาคารหงคำไซยาคาร โดยมี นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด เป็นประธานฝ่ายบริษัทฯ และ ได้รับเกียรติจาก ท่านพมมา พมมะหาน รองเจ้าเมือง เมืองหงสา เข้าร่วมเป็นประธานฝ่ายการนำเมืองหงสา มีหัวหน้าห้องว่าการเมืองหงสา, หัวหน้าห้องการศึกษาธิการ และ กีฬาเมืองหงสา, ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์บ้านหาน, นักข่าวเมืองหงสา, ผู้ปกครองน้องๆ Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในงาน
ในการมอบใบประกาศนียบัตรให้กับคณะ Junior guide ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา ในครั้งนี้ แบ่งเป็น รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 จำนวน 17 คน และ รุ่นที่ 3 จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน โดยน้องๆ Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) ทั้ง 3 รุ่นนี้ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์บ้านหาน และโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์หงสา วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ และยกยกชมเชย ให้กับน้องๆ Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) ที่เสียสละ และแบ่งเวลาจากการศึกษาเล่าเรียน มาเข้าร่วมเป็นผู้บรรยายให้ข้อมูลกับโครงการฯ โดยใช้ทักษะความรู้ ความสามารถ ความมุ่งมั่น และตั้งใจ
ในการเป็นผู้บรรยาย ถ่ายทอดข้อมูลของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา ให้กับบรรดาคณะแขกที่มาเยี่ยมชมโครงการฯ อย่างดีเยี่ยม ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อีกทั้ง เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับน้องๆ Junior guide (จูเนียร์ ไกด์) ในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทางโรงเรียน และเป็นโอกาสให้น้องๆ ได้นำใบประกาศนียบัตรที่ได้รับจากทางโครงการฯ ไปต่อยอดเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาต่อไปในอนาคต
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 2
7 Habits: Report out
หลักสูตร The 7 Habits of Highly Effective People เป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูง ช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นเรื่องการปลูกฝังความมีประสิทธิผลให้กับพนักงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุด ในวันที่ 5 สิงหาคม 2566 แผนกทรัพยากรมนุษย์ ฝ่าย Corporate Services บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด
ได้จัดให้มีกิจกรรม 7 Habits: Report out ขึ้น ณ ห้องประชุม 301 สำนักงานโพนจัน ได้รับเกียรติจาก นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด เข้าร่วมเป็นประธานในงาน โดยมีคณะผู้บริหาร, พนักงานของบริษัทฯ ที่เคยผ่านหลักสูตรฝึกอบรม 7 Habits ในรุ่นก่อนหน้า และ พนักงานฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมภายในงาน เพื่อร่วมให้กำลังใจกับเพื่อนพนักงานที่ผ่านการอบรมหลักสูตร The 7 Habits of Highly Effective People รุ่นล่าสุด ที่ต้องขึ้นเวทีเพื่อทำการ Report Out ในครั้งนี้ จำนวน 25 ท่าน
สำหรับกิจกรรม 7 Habits: Report out ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “The 7 Habits of Highly Effective People” ในปี 2023 นี้ ได้มีโอกาสแบ่งปัน และนำเสนอถึงการนำ 7 Habits ไปประยุกต์ และปรับใช้ในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ภายหลังจากที่เรียนจบหลักสูตรไปแล้ว อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 3
ไฟฟ้าหงสา เข้าร่วมการประเมินป่าชุมชนตามโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ประจำปี 2566 ชิงรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ณ บ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมคม 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด โดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน ได้รับเกียรติเข้าร่วมการประเมินป่าชุมชนตามโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ประจำปี 2566 ชิงรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ณ บ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน จัดโดย กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับเกียรติจาก นางนันทนา บุณยานันต์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน โดยมี นายธีระวุฒิ อนุจร ปลัดอำเภอปัว เป็นผู้กล่าวรายงาน และมี นางนัยนา ฑีฆาวงค์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยหาด เป็นผู้กล่าวต้อนรับคณะกรรมการตัดสิน และแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมการประเมิน ซึ่งในปีนี้ บ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้เป็นตัวแทนของภาคเหนือ
เข้าร่วมรับการประเมินระดับประเทศ ในครั้งนี้ โดยการประเมิน ป่าชุมชนตามโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ประจำปี 2566 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน ตลอดจนเพื่อคัดเลือกป่าชุมชนที่มีแผนงาน ระบบและกระบวนการในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าอย่างเข้มแข็ง โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน สามารถเป็นชุมชนตัวอย่างและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนอื่นได้ หลักเกณฑ์การประเมินก็จะเป็นการให้ชุมชน ได้นำเสนอความเป็นมา รูปแบบจัดการป่าและผลงานความสำเร็จของการดูแลรักษาป่าชุมชน มีการเยี่ยมชมป่าชุมชน เยี่ยมชมนิทรรศการ และผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชน ซึ่งคณะกรรมการตัดสิน จะได้พิจารณาและประเมินป่าชุมชน พร้อมทั้งมีการซักถามข้อมูลจากคนในชุมชน รวมถึงการรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่าย
ที่ได้เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนบ้านห้วยหาด ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ ก็มีหน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายต่างๆ ของบ้านห้วยหาด ที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมการประเมิน มาเป็นขวัญกำลังใจ และได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คณะกรรมการตัดสิน กันอย่างคับคั่ง จนการประเมินป่าชุมชนตามโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ประจำปี 2566 ชิงรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ณ บ้านห้วยหาด หมู่ที่ 7 ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยชุมชนบ้านห้วยหาด เป็นชุมชนหมู่บ้านเป้าหมาย ที่ทาง บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ ชีววิถี เศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ที่ยังคงดำเนินกิกรรมร่วมกันจนถึงทุกวันนี้
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 4
ไฟฟ้าหงสา เข้าร่วมพิธีเปิดการนำเสนอโครงการ “กล้าดี” ครั้งที่ 8 “BCG กล้าดีเพื่อชุมชน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 สิงห าคม 2566 ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน เข้าร่วมพิธีเปิดการนำเสนอโครงการ “กล้าดี” ครั้งที่ 8 “BCG กล้าดีเพื่อชุมชน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 สิงห าคม 2566 ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่าน ได้รับเกียรติจาก นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ โดยมี นายสมศักย์ ปรางทอง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งโครงการ “กล้าดี” เป็นโครงการความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับคนเมืองน่าน นับตั้งแต่ปี 2559 โดย กฟผ. ได้ร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่าน และหน่วยงานพันธมิตร ในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของเมืองน่าน อย่างยั่งยืน ทั้งในฐานะของเมืองยุทธศาสตร์ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศ โดยทุกการสนับสนุนมีเป้าหมายก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำ
จึงได้มีแนวคิดสร้างความยั่งยืนให้กับป่าน่านด้วยการ “ปลูกต้นไม้ในใจเด็ก” และพัฒนาต่อยอดมาเป็นโครงการ “กล้าดี” ที่สนับสนุนให้ “เด็กคิด เด็กทำ เด็กพูด” ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เยาวชนในจังหวัดน่าน ได้ให้ความสนใจ ส่งข้อเสนอแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าร่วมในโครงการ “กล้าดี” เป็นจำนวนกว่า 800 คน ครอบคลุมกลุ่มเยาวชนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาพิเศษ ที่มีอายุไม่เกิน18 ปีจากชุมชน สำหรับปีที 8 นี้ ภายใต้ธีมการดำเนินงาน “BCG กล้าดีเพื่อชุมชน” มีโรงเรียนระดับ ประถมศึกษาจำนวน 7 ทีม และระดับมัธยมศึกษาจำนวน 20 ทีม รวม 135 คน
ที่ได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองในรอบแรก จะนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการในวันที่ 11 – 12 สิงห าคม 2566 นี้ และจะมีการพิจารณาตัดสินรอบชิงชนะเลิศพร้อมมอบทุนสนับสนุนการศึกษาในเดือนธันวาคม 2566 พิธีเปิดการนำเสนอโครงการ “กล้าดี” ครั้งที่ 8 “BCG กล้าดีเพื่อชุมชน” ในครั้งนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน ครูและนักเรียนจากสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคประชาชน มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง