ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2566

การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเหมือง ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2023 และ กิจกรรม Site Walk Down (Safety Committee Meeting and Site Walk Down Q2-2023)

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร, พนักงานบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ฝ่ายเหมือง และฝ่ายความปลอดภัย คุณภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และคุณภาพ ร่วมกับ คณะผู้บริหาร, พนักงาน ฝ่ายเหมือง และฝ่ายความปลอดภัย ของบริษัทผู้รับเหมาภายในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเหมือง ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2023 ณ ห้องฝึกอบรม บริษัท อิตาเลียนไทย หงสา จำกัด และร่วมลงพื้นที่ Site Walk Down ณ บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานขุดขนและงานระบบสายพาน Waste Line 1 วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อให้คณะทำงานได้รายงานถึงการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่เหมือง ช่วงไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2023

และร่วมกันเสนอแนะมาตรการ, แผนงาน และ แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย และมาตรฐานการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ISO45001: 2018 สำหรับกิจกรรม Site Walk Down เป็นกิจกรรมที่คณะผู้บริหารของโครงการฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก ถือเป็นความห่วงใย (CARE) ที่มีต่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานภายในพื้นที่ในเรื่องของความปลอดภัย

โดยการลงพื้นที่ร่วมกันของคณะทำงานในครั้งนี้ ได้มีการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานอย่างมีระบบตามขั้นตอนที่ถูกต้องให้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกพื้นที่ของการทำงานภายในเหมือง มีความปลอดภัยสูงสุด

🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️

ข่าวที่ 2                                                            กรรมการผู้จัดการ ไฟฟ้าหงสา ลงพื้นที่ภายในบริเวณโรงไฟฟ้า (Site Walkdown) ร่วมกับ หน่วยงานประกันภัย ฝ่ายการเงิน และการบัญชี, ฝ่ายปฏิบัติการโรงไฟฟ้า, ฝ่ายความปลอดภัย สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และคุณภาพ และ คณะทำงานฝ่ายความปลอดภัยของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด, นายสุรวุฒิ โกสินตระกูลชัย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด สายงานโรงไฟฟ้า, นายประทีป หยกน้ำเงิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด สายการเงิน การบัญชี และธุรกิจ, หน่วยงานประกันภัย ฝ่ายการเงิน และการบัญชี, คณะผู้บริหาร และพนักงาน ฝ่ายปฏิบัติการโรงไฟฟ้า และ ฝ่ายความปลอดภัย สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และคุณภาพ ลงพื้นที่ (Site Walkdown) ภายในบริเวณโรงไฟฟ้า ร่วมกับ คณะทำงานฝ่ายความปลอดภัยของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา เพื่อติดตาม และสำรวจความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานภายในบริเวณโรงไฟฟ้า ทั้ง 3 หน่วยผลิต

ให้มีความปลอดภัยสูงสุด ตลอดถึง การหาแนวทางร่วมกันในการป้องกัน และบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริเวณโรงไฟฟ้า โดยการดำเนินงานทุกขั้นตอนจะต้องมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับสากล ISO 14001: 2015 และ ระบบการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ISO 45001: 2018

🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️

ข่าวที่ 3
คณะมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือด้านการสนับสนุนการศึกษาและการอบรมระยะสั้น กับ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด และ เข้าเยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานน่าน บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำพาคณะจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 16 ท่าน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือด้านการสนับสนุนการศึกษาและการอบรมระยะสั้น กับ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลด้านการศึกษาต่อของพนักงานของบริษัทฯ และการแลกเปลี่ยนเรื่องจัดการศึกษาให้กับพนักงานผู้ที่สนใจศึกษาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายยุทธนา จุฬพันธ์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร

และนายพิเชษฐ ชูฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนองค์กร บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด เข้าร่วมเป็นประธานในการประชุม โดยมีตัวแทนจากแผนกทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายสนับสนุนองค์กร และแผนกประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร เข้าร่วมในการสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ให้กับทางคณะ ในโอกาสนี้ ทางคณะได้เข้าเยี่ยมชมภายในอาคารหงคำไซยาคาร ได้แก่ ห้องบรรยาย, ห้องนิทรรศการ และจุดชมวิว ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงการบริหารจัดการงานที่สำคัญในด้านต่างๆ ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสาที่มีประสิทธิภาพ

ตามมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับสากล ISO 14001: 2015 และ ระบบการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ISO 45001: 2018 โดยมีน้องๆ Junior Guide ประจำโครงการฯ เป็นผู้ให้ข้อมูล

🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️

ข่าวที่ 4
ไฟฟ้าหงสา ลงพื้นที่ร่วมกับ มทร.ล้านนา น่าน และกลุ่มรักป่าต้นน้ำ เพื่อติดตามกิจกรรมของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ณ บ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ลงพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ หัวหน้าสาขาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

และ ผศ.(พิเศษ)ปรีชา วุฒิการณ์ ประธานกลุ่มรักป่าต้นน้ำ เพื่อติดตามกิจกรรมของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ณ บ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยใช้ชุมชนเป็นห้องเรียน โดยกิจกรรมที่นักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตร มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1)เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำภูเขา (ปลาหลายสายพันธุ์ ปูภูเขา กบภูเขา และหอย) เป็นรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เป็นห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้อยู่คู่กับป่าต้นน้ำตลอดไป 2)เพื่อดำเนินการในรูปแบบโครงการชีววิถี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง รัชกาลที่ 9 สามารถเป็นอาชีพเสริม ทั้งเป็นอาหารและเป็นรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนบ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย 3)เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่จังหวัดน่าน สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ และคณาจารย์ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่เป็นผู้ดูแลหลักสูตร กำลังดำเนินการไปได้ด้วยดีตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร