พิธีมอบ-รับทุนการศึกษา ให้กับน้องๆนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เมืองหงสา ประจำปี 2023
ในวันที่ 26 กันยายน 2566 ส่วนงานชุมชนสัมพันธ์ แผนกพัฒนาสังคม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด จัด “พิธีมอบ-รับทุนการศึกษา ให้กับน้องๆนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตเมืองหงสา ประจำปี 2023” ขึ้น ณ ห้องการศึกษาธิการ และกีฬาเมือง เมืองหงสา โดยการเป็นประธานร่วมกัน ของ ท่านคำหล้า ผิววันนา เจ้าเมือง เมืองหงสา และ นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด โดยทางบริษัทฯ ได้จัดให้มีการมอบทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ ปี 2011
โดยทุนที่มอบนี้เป็นการมอบให้กับน้องๆ นักเรียน ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา และเรียนเก่ง มีคุณสมบัติดี ให้มีพื้นฐานสามารถ พัฒนาตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม เป็นผู้นำในด้านต่างๆตลอดจนเป็นตัวแทนของเมือง ของแขวง
ในการไปสอบแข่งขันในในระดับขั้นต่อไปได้ สำหรับในปี 2023 – 2024 นี้ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเมืองหงสา จำนวน 30 ทุน รวมมูลค่า 90 ล้านกีบ ( ประมาณ 160,000 บาท )
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 2
ไฟฟ้าหงสา ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดย นายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 16 – 17 กันยายน 2566 ณ บริเวณแม่น้ำน่าน เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ จัดขึ้นโดย
สมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจากนายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมีนายนายศราวุธ พุฒตรง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชนในจังหวัดน่าน พี่น้องชาวเรือและประชาชนทั่วไปมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยการจัดแข่งเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1)เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของชุมชน หมู่บ้าน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสืบสานประเพณี พิธีกรรมท้องถิ่นที่เป็นทุนภูมิปัญญาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านและชุมชน เป็นการอนุรักษ์ รักษาและสืบทอด ประเพณีแช่งเรือที่มีมาอย่างยาวนานของจังหวัดน่าน ให้คงอยู่สืบไป 2)เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้หมู่บ้าน ชุมชนในเขตน่านเหนือ (อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง) น่านกลาง (อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง) น่านใต้ (อำเภอเวียงสา) ที่มีเรือได้นำเรือมาร่วมแช่งขัน 3)เพื่อให้ประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของจังหวัด ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
สำหรับประเภทการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1)ประเภทเรือใหญ่ในตำนาน มีจำนวน 6 ลำ 2)ประเภทเรือกลาง มีจำนวน 8 ลำ 3)ประเภทเรือเล็ก มีจำนวน 7 ลำ 4)ประเภทเรือเอกลักษณ์ มีจำนวน 9 ลำ รวมมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 30 ลำ สำหรับงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2566 บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ จำนวน 50,000 บาท
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 3
ไฟฟ้าหงสา ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 23 – 24 กันยายน 2566 ณ บริเวณแม่น้ำน่าน (สนามเทศบาลเมืองน่าน) เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ
จัดขึ้นโดย จังหวัดน่าน ร่วมกับเทศบาลเมืองน่าน และสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมี นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชนในจังหวัดน่าน พี่น้องชาวเรือและประชาชนทั่วไปมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยการแข่งเรือเมืองน่าน ยังเป็นต้นแบบของการแข่งเรือปลอดเหล้า-เบียร์ และการแข่งเรือในครั้งนี้
ได้จัดให้มีการตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน และการเว้นระยะห่างตามแนวทางการปฏิบัติ (New Normal) ในสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์สำหรับพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานถ้วย จำนวน 5 ใบ จากองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำมาซึ่งการแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ จำนวน 5 ประเภท ในครั้งนี้ซึ่งงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และร่วมสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดน่าน ที่มีมาอย่างยาวนานให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ให้เป็นที่รู้จักอีกทางหนึ่งด้วย และเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชนชาวจังหวัดน่าน
สำหรับประเภทการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่1)ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 48 – 55 มีจำนวน 8 ลำ 2)ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน มีจำนวน 6 ลำ 3)ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน มีจำนวน 9 ลำ 4)ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35 คน มีจำนวน 4 ลำ 5)ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน มีจำนวน 10 ลำ รวมมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 37 ลำ สำหรับงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566 บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ จำนวน 50,000 บาท
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 4
ไฟฟ้าหงสา เข้าร่วมแสดงมุทิตาจิตคารวะและแสดงความยินดี พร้อมมอบของที่ระลึกแด่ นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด โดย นายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน เป็นผู้แทนของบริษัทฯ ได้เข้าร่วมแสดงมุทิตาจิตคาราวะและแสดงความยินดี พร้อมมอบของที่ระลึก
แด่ นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม โดยตลอดระยะเวลาที่นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมและการดำเนินงานของบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ด้วยดีเสมอมา ณ ร้านอาหารสุริยาการ์เด้น ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน