ไฟฟ้า หงสา ร่วมงาน “วัยใส วัยเกษียณ” จังหวัดน่าน
ค่ำคืนวันที่ 26 กันยายน 2024 ตัวแทนผู้บริหาร บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด เข้าร่วมงานแสดงมุทิตาจิต แด่ผู้เกษียณอายุราชการของจังหวัดน่าน
อาทิเช่น นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นต้น
ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น โดยมีนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในงานฯ ในครั้งนี้
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 2
ไฟฟ้า หงสา ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567
บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด โดยนายสราวุธ บุญพูล เจ้าหน้าที่ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ สำนักงานน่าน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567 ณ บริเวณแม่น้ำน่าน (สนามเทศบาลเมืองน่าน) เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ
จัดขึ้นโดย จังหวัดน่าน ร่วมกับเทศบาลเมืองน่าน และสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมี นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชนในจังหวัดน่าน พี่น้องชาวเรือและประชาชนทั่วไปมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยการแข่งเรือเมืองน่าน ยังเป็นต้นแบบของการแข่งเรือปลอดเหล้า-เบียร์ และเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์สำหรับพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานถ้วย จำนวน 5 ใบ
จากองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำมาซึ่งการแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ จำนวน 5 ประเภท ในครั้งนี้ ซึ่งงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และร่วมสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดน่าน ที่มีมาอย่างยาวนานให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ให้เป็นที่รู้จักอีกทางหนึ่งด้วย และเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชนชาวจังหวัดน่าน สำหรับประเภทการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1)ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 48 – 55 มีจำนวน 4 ลำ 2)ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน มีจำนวน 7 ลำ 3)ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน มีจำนวน 6 ลำ 4)ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35 คน มีจำนวน 3 ลำ 5)ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน มีจำนวน 8 ลำ รวมมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 28 ลำ สำหรับงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2567 บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ จำนวน 50,000 บาท
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 3
ไฟฟ้า หงสา ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2567
บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด โดย นายสราวุธ บุญพูล เจ้าหน้าที่ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ สำนักงานน่าน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 21 – 22 กันยายน 2567 ณ บริเวณแม่น้ำน่าน เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ จัดขึ้นโดย สมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจากนายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน
โดยมีนายราเชนทร์ กาบคำ นายกสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชนในจังหวัดน่าน พี่น้องชาวเรือและประชาชนทั่วไปมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยการจัดแข่งเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของชุมชน หมู่บ้าน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสืบสานประเพณี พิธีกรรมท้องถิ่นที่เป็นทุนภูมิปัญญาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านและชุมชน เป็นการอนุรักษ์ รักษาและสืบทอด ประเพณีแช่งเรือที่มีมาอย่างยาวนานของจังหวัดน่าน ให้คงอยู่สืบไป
2.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้หมู่บ้าน ชุมชนในเขตน่านเหนือ (อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง) น่านกลาง (อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง) น่านใต้ (อำเภอเวียงสา) ที่มีเรือได้นำเรือมาร่วมแช่งขัน 3.lเพื่อให้ประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของจังหวัด ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำหรับประเภทการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)ประเภทเรือใหญ่ในตำนาน มีจำนวน 8 ลำ 2)ประเภทเรือเล็กเร็ว มีจำนวน 10 ลำ
3)ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน มีจำนวน 9 ลำ รวมมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 27 ลำ สำหรับงานประเพณีแข่งเรือเอกลักษณ์น่าน สานสัมพันธ์ น่านเหนือ น่านกลาง น่านใต้ จังหวัดน่าน ประจำปี 2566 บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ จำนวน 50,000 บาท
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 4
ไฟฟ้า หงสา ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม กล้าดี ปีที่ 9 เด็กคิด เด็กพูด เด็กทำ “กล้าดีเพื่อแผ่นดิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567
บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด โดย นายมงคล แปงแก้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ สำนักงานน่าน เข้าร่วมพิธีเปิดกิจกรรม กล้าดี ปีที่ 9 เด็กคิด เด็กพูด เด็กทำ “กล้าดีเพื่อแผ่นดิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
จัดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่าน ได้รับเกียรติจาก นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก กิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในจังหวัดน่านได้แสดงออกทางความคิด ความสามารถในการพูด และการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ โดยมีการจัดการแข่งขันและการแสดงออกในหลายรูปแบบ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การนำเสนอแนวคิดโครงการชุมชน การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการเสนอโครงการพัฒนาเพื่อสังคม
ภายในงานมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทั้งเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน ตลอดจนผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจมาร่วมชมและให้กำลังใจ โดยผู้ที่ชนะการประกวดในกิจกรรมแต่ละประเภทจะได้รับรางวัลและทุนการศึกษา ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรม กล้าดี ปีที่ 9 เด็กคิด เด็กพูด เด็กทำ “กล้าดีเพื่อแผ่นดิน” ในครั้งนี้
นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ในการสร้างเวทีให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพและพัฒนาความสามารถในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนและสังคมในจังหวัดน่าน ต่อไป