“ไฟฟ้าหงสา ร่วมกับ มทร.ล้านนา น่าน และกลุ่มพัฒนาชีวิตไทใหม่ จัดฝึกอบรมโครงการชีววิถี เศรษฐกิจพอเพียง ให้กับกลุ่มเกษตรวิถีใหม่บ้านฮากฮาน ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน”
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ หัวหน้าสาขาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา น่าน นางปิยะนุช สินันตา อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน พร้อมคณะฯ และกลุ่มพัฒนาชีวิตไทใหม่ นำโดยนายอนุชา ธนะเพทย์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาชีวิตไทใหม่ จัดฝึกอบรมโครงการชีววิถี เศรษฐกิจพอเพียง ให้กับกลุ่มเกษตรวิถีใหม่บ้านฮากฮาน หมู่ที่ 2 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 50 คน พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจากนายนายชนินทร์ พันธุ์เหม ปลัดอวุโสอำเภอเวียงสา รักษาราชการแทนนายอำเภอเวียงสา เข้าร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจกับกลุ่มผู้ฝึกอบรม ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านฮากฮาน ให้การต้อนรับคณะโดยนายอิทธิพล อิ่นทา ผู้ใหญ่บ้านฮากฮาน ซึ่งในวันนี้ เป็นการฝึกอบรมโครงการชีววิถี เศรษฐกิจพอเพียง ให้องค์ความรู้ในเรื่อง การเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อดิน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของ การเตรียมบ่อ การสร้างบ่อดิน หลักการเลี้ยงปลา การคัดเลือกพันธุ์ปลาที่จะเลี้ยง การดูแลน้ำในบ่อเลื้ยงปลา สูตรอาหารปลา และการให้อาหารปลา เป็นต้น นอกจากนี้ สาขาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
ยังได้สนับสนุนพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลาหมอชุมพร จำนวน 80 คู่ ปล่อยลงสระน้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป และมีการฝึกอบรมในเรื่องของการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และน้ำยาฉีดพ่นไล่ยุง โดยนางปิยะนุช สินันตา อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน บ้านวิถีไทย เป็นวิทยากรในการฝึกอบรม โดยการฝึกอบรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการนำร่องตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มเกษตรวิถีใหม่บ้านฮากฮาน ที่จะได้จัดทําโครงการชีววิถี เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรวิถีใหม่บ้านฮากฮาน มีรายได้เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นอกจากนั้นสมาชิกในกลุ่มยังสามารถนําไปประยุกต์ปฎิบัติ เพื่อขยายเป็นอาชีพที่ทํารายได้ให้แก่ครอบครัว ได้อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไปได้ และยังสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน ได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรม ได้ปฎิบัติตนภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทุกคน
🔻ข่าวที่ 2
ไฟฟ้าหงสา ร่วมกับ มทร.ล้านนา น่าน ชุมชนบ้านห้วยหาด และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “ฮอมใจพัฒนา ฮักน่าน ฮักป่าต้นน้ำยั่งยืน ” ณ ป่าชุมชนบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกชา คูหา รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ผศ.ดร.กันยาพร ไชยวงศ์ รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ชุติสร เรืองนาราบ รองคณบดี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน กลุ่มพัฒนาชีวิตไทใหม่ หน่วยจัดการต้นน้ำหลักลาย สถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคา หน่วยพิทักษ์อุทยานดอยภูคา และภาคีเครือข่าย พร้อมด้วยชุมชนบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้จัดกิจกรรม “ฮอมใจพัฒนา ฮักน่าน ฮักป่าต้นน้ำยั่งยืน ” ณ ป่าชุมชนบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก นายสมเกียรติ อาจสังข์ นายอำเภอปัว เป็นประธานในพิธี มีนางนัยนา ฑีฆาวงค์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยหาด เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนบ้านห้วยหาด ได้ดำเนินการดูแลรักษาป่าชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำน่าน และส่งเสริมให้ชุมชนได้มีกิจกรรมการดูแล อนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูระบบนิเวศน์รอบชุมชน ตลอดถึงเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีแหล่งเรียนรู้ แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา
นอกจากนี้ชุมชนบ้านห้วยหาด ได้มีการทำฝายชะลอน้ำ บ่อเลี้ยงปลา ระบบท่อจ่ายน้ำสู่พื้นที่การเกษตร การขยายพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อคืนสู่ป่าชุมชน โดยมีเป้าหมาย จำนวน ๕๐ ไร่ ซึ่งในครั้งนี้ ก็ได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมขึ้น ได้แก่ การบวชป่า คืนสมุนไพรสู่ป่าชุมชน การทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ และปล่อยพันธุ์ปลาคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและการตอบรับเป็นอย่างดี จากหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายในจังหวัดน่าน มาร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง
🔻ข่าวที่ 3
“ไฟฟ้าหงสา มอบชุดหมีกู้ภัย ให้กับมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้และศพไร้ญาติจังหวัดน่าน องค์กรสาธารณประโยชน์ (กู้ภัยอัศวินม้าขาว) เพื่อไว้ใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่ ”
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ในนามผู้แทนบริษัทฯ ได้มอบชุดหมีกู้ภัย ให้กับมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้และศพไร้ญาติจังหวัดน่าน องค์กรสาธารณประโยชน์ (กู้ภัยอัศวินม้าขาว) เพื่อไว้ใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 10ชุด (รวมมูลค่าจำนวน 15,000 บาท) มีนายทศพรพันธ์ ยอดหงษ์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้และศพไร้ญาติจังหวัดน่าน องค์กรสาธารณประโยชน์ (กู้ภัยอัศวินม้าขาว) พร้อมคณะ เป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้และศพไร้ญาติจังหวัดน่าน องค์กรสาธารณประโยชน์ (กู้ภัยอัศวินม้าขาว) จังหวัดน่าน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำชุดหมีกู้ภัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ในการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดน่าน ต่อไป โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่นมีความสุขและเป็นกันเอง ทั้งผู้ให้และผู้รับ
🔻ข่าวที่ 4 ไฟฟ้าหงสา ร่วมกิจกรรม รวมพลังเยาวชนคนเก่งและคนดีจังหวัดน่าน ในการต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2564
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด โดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน ในฐานะคณะทำงานภาคเอกชน ได้เข้าร่วมกิจกรรม รวมพลังเยาวชนคนเก่งและคนดีจังหวัดน่าน ในการต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2564 ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ทุกระดับวัย เพื่อให้เด็กน่านก้าวทันในยุคศตวรรษที่ 21 ณ โรงแรมน่านกรีนเลควิว รีสอร์ท อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจากนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธี มีนายแพทย์วรินทร์เทพ เชื้อสำราญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยจังหวัดน่าน ได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนตามแนวทางโครงการ TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแส “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” มาอย่างต่อเนื่อง มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ในฐานะเลขานุการโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดน่าน ได้จัดกิจกรรมรวมพลังเยาวชนคนเก่งและคนดีจังหวัดน่าน ในการต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2564 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 โดยมีกิจกรรม
ดังนี้ (1.)พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างจังหวัดน่าน และหน่วยงานระดับจังหวัด จำนวน 19 หน่วยงาน และอำเภอ TO BE NUMBER ONE จำนวน 15 อำเภอ (2.)การแสดงนิทรรศการของชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน 16 บูธ (3.)การประกวด TO BE NUMBER ONE TEEN DANCERCISE NAN CHAMPIONSHIP 2021 จำนวน 9 ทีม (4.)การประกวดเยาวชนคนเก่งและคนดี TO BE NUMBER ONE IDOL จังหวัดน่าน จำนวน 22 คน มีสมาชิก TO BE NUMBER ONE รวมทั้งคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบงาน TO BE NUMBER ONE เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 350 คน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด 19 ทุกคน
🔻ข่าวที่ 5
ไฟฟ้าหงสา เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจัดทำหลักสูตรมรดกวัฒนธรรม “งานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน” เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่าน สู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO กิจกรรมเผยแพร่หลักสูตร/ชุดองค์ความรู้ในรูปแบบ “จักสาน โหล่งวัฒนธรรม”
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่านในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ วิทยาลัยชุมชนน่านพร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจัดทำหลักสูตรมรดกวัฒนธรรม “งานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน” เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO กิจกรรมเผยแพร่หลักสูตร/ชุดองค์ความรู้ในรูปแบบ “จักสาน โหล่งวัฒนธรรม” ณ เฮือนฮังต่อ กาแฟน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวิทยาลัยชุมชนน่าน ได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีสมเดช อภิชยกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการหออัตลักษณ์นครน่าน เป็นประธานในพิธี มีนายสุเมษ สายสูง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน
โดยกิจกรรมในวันนี้ เป็นการขับเคลื่อนเมืองน่าน สู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีงานศึกษาวิจัยเชิงวิชาการ มีหลักสูตรชุดวิชา การเรียนรู้ด้านงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน ที่สนับสนุนวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ เยาวชนในสถานศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน ผ่านกิจกรรมเผยแพร่หลักสูตรท้องถิ่น และนำองค์ความรู้ไปต่อยอดงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่านเชิงสร้างสรรค์ และสามารถยกระดับงานหัตถกรรมพื้นถิ่นสู่อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงานมีกิจกรรมการเสวนา เรื่อง จักสานภูมิปัญญาท้องถิ่นน่าน สู่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ การจัดบูธโชว์ “งานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน” และมีกิจกรรมฝึกปฏิบัติจักสานกล่องความรู้ “ตาแหลว” และกล่องความรู้ “ม้าหลากสี” โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทุกคน