ไฟฟ้าหงสา ร่วมกิจกรรม “มหัศจรรย์ไก่พื้นเมืองน่าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยสินค้าท้องถิ่น สู่วัฒนธรรมอาหารสากล ด้วย Nan gastronomy tourism

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ได้จัดกิจกรรม “มหัศจรรย์ไก่พื้นเมืองน่าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยสินค้าท้องถิ่น สู่วัฒนธรรมอาหารสากล ด้วย Nan gastronomy tourism” ณ แสงทองรีสอร์ท อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกกรม

มีนายชาญชัย ลิ้มสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน เพื่อให้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อเป็นการยกระดับ สร้างเสริมอาชีพและเศรษฐกิจระดับฐานรากให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่าน คือ ไก่ประดู่หางดำ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ

ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองฮอมฮัก อำเภอเชียงกลาง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ซึ่งคุณลักษณะของไก่ประดู่หางดำ คือ เป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่พัฒนาโดยกรมปศุสัตว์ มีลักษณะเด่นเฉพาะสายพันธุ์ ได้แก่ ปากดำ แข้งดำ ตัวผู้มีขนคอสีประดู่และขนหางสีดำ ที่สำคัญคือ โตเร็วกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป เลี้ยง 2-3 เดือนก็สามารถจับขายได้ เนื้อมีรสชาติหวาน อร่อย แน่นนุ่ม แต่ไม่เหนียว

เนื้อไก่เองไปทำอาหารได้หลากหลาย และมีงานวิจัยว่าเนื้อไก่ประดู่หางดำนี้มีโคเลสเตอรัลและกรดยูริกต่ำ จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ เนื่องจากใช้พื้นที่และน้ำน้อย และยังลงทุนน้อยกว่าปศุสัตว์และการทำเกษตรชนิดอื่น ๆ ผลตอบแทนก็เร็วกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งในอาชีพทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี อีกอาชีพหนึ่งด้วย

โดยกิจกรรม “มหัศจรรย์ไก่พื้นเมืองน่าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยสินค้าท้องถิ่น สู่วัฒนธรรมอาหารสากล ด้วย Nan gastronomy tourism” ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากโครงการ “การขับเคลื่อนเชิงบูรณาการเพื่อยกระดับไก่พื้นเมืองไทยสู่สัตว์เศรษฐกิจและยกระดับกระจายรายได้สู่เกษตรกรในภาคเหนือของประเทศไทย” ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกิจกรรม “มหัศจรรย์ไก่พื้นเมืองน่าน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยสินค้าท้องถิ่น สู่วัฒนธรรมอาหารสากล ด้วย Nan gastronomy tourism” หรือการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจังหวัดน่าน

มีความโดดเด่นในด้านอาหารล้านนาและมีร้านอาหารที่มีศักยภาพที่มีเชฟที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศจำนวนมาก ไก่พื้นเมืองจัดเป็นทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมเช่นกัน ดังนั้นหากนำเนื้อไก่พื้นเมืองร่วมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นมารังสรรค์เป็นเมนูอาหารทั้งอาหารพื้นถิ่นและอาหารเชิงผสมผสานวัฒนธรรม (fusion food) โดยเชฟของร้านอาหารในจังหวัดน่านเองและส่งเสริมให้เป็นเมนูที่โดดเด่นของแต่ละร้าน จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดน่าน ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดน่าน และทำให้จังหวัดน่านเป็นที่รับรู้และจดจำของนักท่องเที่ยวและอยากกลับมาเที่ยวอีกครั้ง ซึ่งภายในงานนี้ ได้มีการรังสรรค์เมนูอาหารจากไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ

โดยเชฟมืออาชีพที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากแขกผู้มีเกียรติผู้มาร่วมงาน ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนจากหน่วยงานภาคเอกชน และตัวแทนจากภาคธุรกิจ ในจังหวัดน่าน ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างชื่นมื่นและเป็นกันเอง และกิจกรรมในครั้งนี้ บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด โดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน ได้รับเกียรติเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย