เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดย นายคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานน่าน
ร่วมวางพวงหรีดเพื่อเคารพศพ ร่วมทำบุญงานบำเพ็ญกุศลศพ และร่วมสวดพระอภิธรรมศพ แพทย์หญิงพนิดา วงศ์รักมิตร อายุ 85 ปี มารดาของนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ณ วัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 2
ไฟฟ้าหงสา ร่วมกับ สถาบันการวิจัยแห่งชาติ(วช) มทร.ล้านนา น่าน และชุมชนบ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย จัดกิจกรรม “การพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติ” ณ ชุมชนบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน และชุมชนบ้านห้วยหาด บ้านหลักลาย
จัดกิจกรรม “การพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติ” ณ ชุมชนบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน” ได้รับเกียรติจากนายสมบรูณ์ อุทังไข ปลัดอาวุโสอำเภอปัว เป็นประธานในพิธี มีนางนัยนา ฑีฆาวงค์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยหาด เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีนายบุญธรรม จันขันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอวน เป็นผู้กล่าวต้อนรับคณะผู้มาร่วมงาน ซึ่งในวันนี้ได้รับเกียรติให้การต้อนรับคณะของนางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ได้นำทีมงานนักวิจัยลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานการพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติ ภายใต้โครงการวิจัยการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามธรรมชาติและพัฒนานวัตกรรมบ่อดินปั้น เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่จังหวัดน่าน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติมาบูรณาการ ร่วมมือกับชุมชนบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย โดยมีบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด เป็นเครือข่ายให้การสนับสนุนกิจกรรม โดยได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติ การศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์พันธุ์ปลาต้นน้ำ การสร้างฝ่ายชลอน้ำ การปลูกป่า การพัฒนานวัฒกรรมบ่อดินปั้น การปล่อยพันธุ์ปลาสวยงามธรรมชาติ การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้าน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งคณะผู้จัดกิจกรรม ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการผลักดันและส่งเสริมการกระจายรายได้สู่ชุมชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเพื่อให้คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นำไปเผยแพร่และปฏิบัติได้ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ชุมชนบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย ถือเป็นชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในบริบทปลาสวยงามธรรมชาติในชุมชน สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมความงามของธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้ง ดิน ป่า น้ำ และยังมีร้านอาหาร ร้านกาแฟ และโฮมสเตย์ ไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและการตอบรับเป็นอย่างดี จากหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายในจังหวัดน่าน มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กันอย่างคับคั่ง
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ข่าวที่ 3
ไฟฟ้าหงสา เข้าร่วมกิจกรรม “ชิม ช้อป ใช้ นวัตกรรมทางสัตว์และการเกษตร” ณ อาคารปฎิบัติการเกษตรชีวภาพ มทร.ล้านนา น่าน
.
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565
บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน เข้าร่วมกิจกรรม “ชิม ช้อป ใช้ นวัตกรรมทางสัตว์และการเกษตร” ณ อาคารปฎิบัติการเกษตรชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน
ได้รับเกียรติจากนายพงษ์ศิลป์ ผาลา นายอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธี มีดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้ช่วยอธิการบดี น่าน มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งกิจกรรม “ชิม ช้อป ใช้ นวัตกรรมทางสัตว์และการเกษตร” ในครั้งนี้ จัดโดย สาขาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
โดยความเป็นมาและบทบาทของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากภารกิจด้านการเรียนการสอนนักศึกษา มหาวิทยาลัยฯ ยังมีภารกิจต้องทำงานวิจัย พัฒนานวัตกรรม แล้วนำผลงานการวิจัยและนวัตกรรมถ่ายทอดสู่ชุมชน ผ่านงานบริการวิชาการ เพื่อช่วยพัฒนายกระดับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ เกษตรกร นำมาสู่ประสิทธิภาพทางการผลิต ทางการตลาด ความสามารถการแข่งขัน เพื่อนำมาสู่ความอยู่ดีกินดี ความมั่นคงทางอาหาร ของประชาชาจังหวัดน่าน สืบไป โดยวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีดังนี้1)เพื่อจัดแสดงเผยแพร่ผลงานการวิจัย และนวัตกรรมของนักศึกษา อาจารย์ ที่พร้อมถ่ายทอด สู่ชุมชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกร 2)เพื่อแสดงผลผลิต/ผลิตภัณฑ์จากผลงานการบริการวิชาการ การถ่ายทอดผลงานวิจัย และนวัตกรรม ในแบบ “ชิม ช้อป ใช้” ผ่านบูทนิทรรศการต่างๆ ซึ่งมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ 1)กิจกรรมบรรยายความรู้ทางด้านวิชาการจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ 2)กิจกรรมการเสวนา ประเด็น “น่านเลี้ยงโคขุนได้จริงหรือ” โดย ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนจังหวัดน่าน 3)กิจกรรมแสดงนิทรรศการองค์ความรู้จากผลงานการวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ คลินิกแนะนำความรู้ด้านนวัตกรรมอาหารสัตว์ สุขภาพสัตว์ การตลาด การแปรรูปโคเนื้อ และแพะเนื้อ 4)กิจกรรม “ชิม ช้อป ใช้” ผลผลิต ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ประมง การเกษตร และแปรรูป
ซึ่งเป็นผลจากการบริการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ชุมชน การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุน ตลอดจนความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด / สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) / สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) / ศูนย์เรียนรู้แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน / ตลอดจนภาคีเครือข่ายวิสาหกิจขุมชน สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อนันทบุรี จังหวัดน่าน / กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบ้านส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน / วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน / วิสาหกิจผู้เลี้ยงหมูทุ่งขาม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นต้น โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนและการตอบรับเป็นอย่างดี จากหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน ภาคประชาชน ภาคีเครือข่ายภาคการเกษตรในจังหวัดน่าน ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กันอย่างคับคั่ง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทุกคน